วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระเจ้าอโศกมหาราช

พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา
ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา)มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม(ธรรมราชา)ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้43ปี

[แก้] ดำเนินรัฐศาสนโยบาย

จักรวรรดิโมริยะช่วงรุ่งเรืองที่สุดประมาณ พ.ศ. 278
ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

[แก้] อัครศาสนูปถัมภก
พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชนศาสนิกชน เพื่อไปประกอบพิธีทางศาสนา

[แก้] ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ
เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักประวัติศาสตร์คนสำคัญในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น

[แก้] คุณธรรมที่ควรเป็นแบบอย่าง
ทรงมีปัญญาเป็นเลิศ ได้ฟังธรรมจากพระมหินทะเถระส่งพระกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนบรรลุพระโสดาบัน
เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง เมื่อพระอลัชชี คือพวกนอกศาสนาปลอมตัวเป็นพระมาทำลายศาสนา พระองค์ทรงส่งอำมาตย์ไปไกล่เกลี่ยแต่อำมาตย์ฆ่าพระโดยโทสะ พระองค์ทรงยอมรับผิดแต่โดยดี แม้จะไม่ได้ทำ ทรงรับผิดชอบโดยการชำระสังฆมณฑลให้ขาวรอบ
ทรงนับถือศาสนาพุทธ แต่มิได้เบียดเบียนศาสนาอื่น กลับสนับสนุนอีก แม้มิได้นับถือ เช่น ทรงอุทิศถ้ำอชันตาให้แก่พวกนักบวชศาสนาเชนดั่งคำหลักศิลาจารึกที่13ว่า " การเหยีดหยามศาสนาอื่น มิได้ทำให้ศาสนาของตนดีเลย กลับแย่ลงเสียอีก"
ทรงมีพระทัยอันกว้างใหญ่ เช่น ทรงอนุญาตให้ พระมหินทะ และพระสังฆมิตตา อุปสมบทได้ ทั้งสองทำวิปัสสนาด้วยความเพียรจนบรรลุอรหัตตผล และเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา ควรถือเป็นแบบอย่าง
ทรงปกครองบ้านเมืองโดยเป็นธรรม โดยใช้หลักพรหมวิหารธรรม4 ไม่ขาดและไม่ทำลาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้นำบริษัทและเจ้าขุนมูลนายทั้งสมัยโบราณกาลและสมัยปัจจุบันอย่างยิ่ง
เป็นมหาราชในอุดมคติ พระองค์ทรงใช้ หลัก"ธรรมราชา"คือการปกครองบ้านเมืองโดยธรรม เป็นหลักการปกครอง พระมหากษัตริย์ต่างเมืองต่างประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง
ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย เช่น

หัวเสารูปสิงห์ 4 ทิศ รัฐบาลอินเดีย นำมาใช้เป็นตราราชการแผ่นดิน
ทรงเป็นอัครศาสนาณูปถัมภ์ การสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร ใช้เวลาสอบสวนสะสางสำเร็จภายใน 9 เดือน
ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งประเทศอินเดีย และนอกประเทศอินเดีย
ทรงสร้างวัดทั้ง 84000 วัดและพระสถูปทั่วชมพูทวีป ทั้ง 84000 องค์ ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ และทรงให้จารึกธรรมะที่เป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ 4 และหลักธรรมวิชัย คือการชนะจิตใจคนด้วยพระธรรม ฯลฯ
ทรงชำระสังฆมณฑล โดยจับพระปลอมจับสึกจำนวน 60000 รูป
ทรงค้นพบสังเวชนียสถาน 4 ตำบล และประดิษฐานด้วยเงิน 100000 กหาปณะ
ทรงปักหลักเสาศิลาจารึก ณ พุทธสถานที่สำคัญ ทำให้นักโบราณคดีค้นพบพุทธสถานมากมาย หัวเสาอโศกเป็นรูปสิงห์4ตัวหันหลังชนกัน ซึ่ง ต่อมาเป็นตราแผ่นดินประจำประเทศอินเดีย
ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้าง โรงพยาบาล ขุดสระน้ำ ปลูกต้นไม้ ที่พักคนเดินทาง เป็นต้น
ทำนุบำรุงพระสงฆ์อย่างยิ่งใหญ่ เช่นสร้างวัด และวิหาร ถวายพระสงฆ์ เพื่อเป็นที่ศึกษาพระธรรมวินัย
ทรงประดิษฐานจารึกอโศก ทั่วแคว้นหลายแคว้น จารึกเกี่ยวกับหลักธรรมะที่ทรงสั่งสอนประชาชนและข้าราชการ พระราชกรณียกิจของพระองค์ หลักการปกครอง และหลักการบริหารประเทศชาติ เป็นต้น
ทรงใช้หลัก "ธรรมราชา" เป็นหลักนโยบายในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทั่วเมืองทั่วประเทศทั้งสมัยอดีตจนสมัยปัจจุบัน ได้กระทำตามจนบ้านเมืองของตนเจริญรุ่งเรือง
ทรงศึกษาและประพฤติปฏิบัติธรรมะอย่างเคร่งครัด
ทรงประกาศห้ามฆ่าสัตว์โดยไม่สมควร
ทรงประกาศเลิกการชุนนุมเพื่อความบันเทิง ให้มาปฏิบัติกิจกรรมทางธรรมและกิจกรรมที่มีสาระแทน เช่นทรงสั่งสอนให้ประชาชนปฏิบัติธรรมทรงเสด็จเยี่ยมเยียน ประชาชน ทั้งชาวเมือง และชาวชนบท และทรงเสด็จไปนมัสการพุทธสถานที่สำคัญ
ทรงบริจาคทรัพย์ ให้ในการช่วยเหลือและ นวกรรม คือการก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่าง ให้ประชาชน และทรงเน้นเรื่องธรรมทาน คือการแนะนำสั่งสอนธรรมะ คือ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ให้แก่ประชาชน
ทรงแนะนำให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติธรรม และทรงส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี เช่น ลูกต้องเชื่อฟังบิดา มารดา ลูกศิษย์ ต้องเชื่อฟัง อาจารย์ ปฏิบัติต่อคนรับใช้อย่างดี เป็นต้น
ทรงให้เสรีในการนับถือศาสนาแก่ประชาชน

พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศไทย

[แก้] บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป
หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคตพระองค์ได้บังเกิดจิตโทสะ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

พระอุบาลีมหาเถระ

ประวัติพระอุบาลีเถระ

พระอุบาลีเถระ เป็นหนึ่งในพระมหาเถระที่มีความสำคัญยิ่งท่านหนึ่งในการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องพระวินัยปิฎก ทั้งนี้เป็นเพราะเหล่าพระเถระทราบดีว่าพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้ท่านเป็นเอตทัคคะ เลิศกว่าพวกภิกษุผู้ทรงวินัย ในการที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่านเช่นนั้น ก็มีเหตุเนื่องมาจากความปรารถนาของท่านในอดีตนั่นเอง
ความปรารถนาในอดีต
ในสมัยหนึ่ง ท่านเกิดเป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุชาต ในหงสาวดีนคร สะสมทรัพย์ไว้ ๘๐ โกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกนับไม่ถ้วน เป็นผู้มีความรู้อย่างยิ่ง มหาชนต่างนับถือ แต่ตัวท่านเองในครั้งนั้นไม่นับถือผู้ใด ด้วยในสมัยนั้นยังไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัส ในครั้งนั้นท่านมีมานะ กระด้าง ไม่เห็นผู้ที่ควรบูชา
ครั้นต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ในครั้งนั้น พระองค์ได้เสด็จเข้ามายังนครหงสาวดี.เพื่อทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดา มหาชนหลั่งไหลเข้ามาฟังธรรมเป็นอาณาบริเวณประมาณ ๑ โยชน์โดยรอบ ดาบสท่านหนึ่งชื่อสุนันทะ ได้สร้างปะรำดอกไม้ขึ้นบังแสงแดดเพื่อประโยชน์แห่งมหาชนตลอดทั่วทั้งพุทธบริษัท
ในครั้งนั้น.เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศอริสัจ ๔ บริษัทแสนโกฏิก็ได้บรรลุธรรม.พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ครั้นถึงวันที่ ๘ พระองค์ทรงพยากรณ์สุนันทดาบส ดังนี้ว่า ในแสนกัปนับจากนี้ไป จักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพจากราชตระกูลพระเจ้าโอกกากราช พระนามโดยพระโคตรว่า โคดม ดาบสนี้จักเกิดเป็นพุทธสาวกโดยนามว่า ปุณณมันตานีบุตร.และจะได้เป็นเอตทัคคะยิ่งกว่าสาวกอื่น
ท่านได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธองค์แล้วก็ปรารถนาจะได้ตำแหน่ง ผู้เป็นเลิศในพระวินัย ท่านจึงได้ซื้อสวนชื่อว่า โสภณะ ด้านหน้าพระนคร ด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ท่านได้สร้าง เรือนยอด ปราสาท มณฑป ถ้ำ คูหา และที่จงกรม สร้างเรือนอบกาย โรงไฟ โรงเก็บน้ำและห้องอาบน้ำ ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์. ท่านได้ถวายปัจจัยคือ ตั่ง เตียง ภาชนะ เครื่องใช้สอยและยาประจำวัดนี้ทุกอย่าง ท่านให้สร้างกำแพงอย่างมั่นคง สร้างที่อยู่อาศัย ให้ท่านผู้มีจิตสงบผู้คงที่ไว้ในสังฆาราม ทั้งหมดนี้ด้วยทรัพย์อีกจำนวนแสนหนึ่ง รวมเป็นสองแสน
ครั้นเมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงได้นิมนต์พระปทุมุตตระพุทธเจ้า ให้เสด็จมาเพื่อถวายพระอาราม ครั้นเมื่อถึงเวลา พระปทุมุตตรพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระขีณาสพพันหนึ่ง ได้เสด็จเข้าไปสู่อาราม ท่านได้ถวายภัตตาหารแล้ว จึงได้ทูลถวายอารามนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นทรงรับสังฆารามที่สร้างเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงอนุโมทนาและทรงพยากรณ์พราหมณ์สุชาตว่า ในอีกแสนกัปข้างหน้า จักมีพระศาสดาในโลก ผู้ทรงสมภพในราชตระกูลโอกกากราช พระนามโดยพระโคตรว่า โคตมะ พระองค์จักทรงมีพุทธชิโนรส ผู้เป็นธรรมทายาท เป็นพุทธสาวก ชื่อว่า อุบาลี. เธอจักบำเพ็ญบารมีในพระวินัย ดำรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระชินะ และเป็นผู้หาอาสวะมิได้. พระสมณโคดมจักทรงแต่งตั้งเธอไว้ในเอตทัคคะ
ทำกรรมไว้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติก่อนจึงต้องเกิดมาในตระกูลที่ต่ำ
ในกัปที่สองภายหลังภัทรกัปนี้ไป ท่านเกิดเป็นโอรสของพระเจ้าอัญชสะ ผู้มีพระเดชานุภาพยิ่งใหญ่ มีทรัพย์หลายแสนโกฏิ ชื่อว่า เจ้าชายจันทนะ เจ้าชายนั้นเป็นคนกระด้าง คือแข็งกร้าว ถือตัว ด้วยความเมาในชาติตระกูล ยศ และโภคะ
ในวันหนึ่งท่านได้เสด็จออกประพาสอุทยานนอกพระนคร โดยทรงช้างชื่อว่า สิริกะ แวดล้อมด้วย กองทัพไพร่พลและบริวารเป็นอันมาก ในทางที่จะไปนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านามว่าเทวละทรงพระดำเนินผ่านหน้าช้างไป ท่านจึงไสช้างพระที่นั่งไปล่วงเกินพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ด้วยพระบารมีในพระปัจเจกพุทธเจ้า ช้างพระที่นั่งนั้นกลับแสดงอาการโกรธท่านซึ่งเป็นผู้บังคับช้าง และไม่ยอมย่างเท้า ยืนหยุดนิ่งอยู่ ตัวท่านเมื่อได้แสดงกิริยาต่ำช้าเช่นนั้นต่อพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าเห็นช้างไม่พอใจ จึงได้โกรธพระปัจเจกพุทธเจ้า เบียดเบียนพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแล้ว ได้ไปยังพระอุทยาน ข้าพเจ้าไม่พบความสำราญ ณ ที่นั้น เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ถูกความกระวนกระวายแผดเผา เหมือนปลาติดเบ็ด พื้นแผ่นดินเป็นเสมือนไฟลุกไปทั่วสำหรับข้าพเจ้า เมื่อภัยเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระราชบิดาเล่าความทั้งหมดให้ฟัง
พระเจ้าอัญชสะได้ฟังก็ตกพระทัย ตรัสว่า เพราะกระทำความไม่เอื้อเฟื้อในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พวกเราทั้งหมดจักพินาศ พวกเราจักให้พระปัจเจกสัมพุทธมุนีนั้นอดโทษ จึงจักไม่ฉิบหาย.หากเราทั้งหลายไม่ไปขอให้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทรงยกโทษ ภายใน ๗ วัน แว่นแคว้นอันสมบูรณ์ของเรา จักทำลายหมด.
ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าขอขมาต่อพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงยกโทษให้ ด้วยกรรมเช่นนี้ท่านจึงต้องเกิดมาในตระกูลที่ต่ำในชาตินี้
กำเนิดในพุทธกาล
พระอุบาลี เกิดในตระกูลช่างกัลบก ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กทำหน้าที่ในตำแหน่งเจ้าพนักงานภูษามาลา มีหน้าที่ตัดแต่งพระเกศา และดูแลเครื่องแต่งพระองค์ประจำราชสกุลศากยะ ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความจงรักภักดี เสมอต้นเสมอปลาย จนเป็นที่ไว้วางพระหฤทัย
ออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก
เมื่อครั้งพระบรมศาสดาเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ตามคำทูลอาราธนาของพระกาฬุทายีเถระ เมื่อพระพุทธองค์รับนิมนต์แล้วจึงเสด็จจาริกพร้อมภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จออกจากรุงราชคฤห์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันที่ถึง ก็ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดหมู่พระญาติ แล้วในวันที่ ๒ ทรงเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกในกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมถวายพระพุทธบิดา ทรงอนุเคราะห์พระญาติที่พึงทรงกระทำในที่นั้น แล้วทรงบรรพชาให้ราหุลกุมาร ต่อมาก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ จาริกไปในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวันของมัลลกษัตริย์ ฯ
จากนั้น เหล่าขัตติยกุมารในแต่ละมหาสาขาของศากยวงศ์เป็นอันมากก็ออกบรรพชาตามเสด็จพระพุทธองค์ ครั้งนั้น เจ้าชายแห่งศากยวงศ์ ๖ พระองค์ก็มีพระประสงค์จะออกผนวชตามเสด็จบ้าง จึงได้เดินทางออกจากกรุงกบิลพัสดุ์โดยกระบวนพยุหยาตรา ให้เป็นเสมือนเสด็จประภาสราชอุทยาน โดยในครั้งนั้น นายอุบาลีภูษามาลาก็ได้ตามเสด็จด้วยในฐานะมหาดเล็กคนสนิท ครั้นย่างเข้าพรมแดนอื่นแล้ว ก็สั่งให้กระบวนตามเสด็จกลับทั้งหมด ทรงพระดำเนินตามลำพัง ๖ พระองค์ต่อไป พร้อมด้วยนายอุบาลีภูษามาลา เมื่อเห็นว่าได้มาไกลพอสมควรแล้วทั้ง ๖ พระองค์จึงได้ส่งนายอุบาลีภูษามาลากลับและทรงเปลื้องเครื่องประดับออก เอาภูษาห่อแล้วมอบให้กับนายอุบาลีเพื่อใช้เป็นทรัพย์ในการเลี้ยงชีพต่อไป
ครั้งนั้น นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา ก็ได้เดินทางกลับพร้อมห่อเครื่องประดับที่ได้รับมานั้น เมื่อเดินทางมาได้ระยะหนึ่งก็ฉุกใจคิดว่า ถ้าเรากลับไปแล้ว เจ้าศากยะในกรุงกบิลพัสดุ์ก็จะคิดว่าเราลวงเจ้าชายมาประหารแล้วชิงเอาเครื่องประดับตกแต่งมา ก็ศากยกุมารทั้ง ๖ นี้ยังทรงผนวชได้ ไฉนเราจึงจะบวชบ้างไม่ได้เล่า เขาจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วพูดว่า ของนี้เราให้แล้ว ผู้ใดเห็น ผู้นั้นจงนำไปเถิด แล้วเดินตามไปเฝ้าศากยกุมารเหล่านั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุบาลีผู้เป็นภูษามาลา เดินกลับมาจึงรับสั่งถามว่ากลับมาทำไม
นายอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาจึงเล่าความให้ทราบ เหล่าขัติยกุมารก็เห็นด้วย จึงพาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอบวช โดยทรงขอให้พระพุทธองค์ บวชให้นายอุบาลีนี้ก่อน ด้วยเหตุเพื่อลดมานะความถือตัวของตนเองที่เป็นวงศ์กษัตริย์ เมื่อบวชหลังนายอุบาลีก็ต้องทำความเคารพผู้ที่บวชมาก่อน แม้ผู้นั้นจะเคยเป็นมหาดเล็กรับใช้ก็ตาม
พระผู้มีพระภาคจึงโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ
กราบทูลขอออกปฏิบัติธรรมในป่า แต่ไม่ทรงอนุญาต
ครั้นเมื่อบวชแล้ว ท่านก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเพื่อขอออกปฏิบัติธรรมในป่าและราวป่าอันสงัด
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงห้ามท่าน โดยทรงพระดำริว่า ถ้าท่านเลือกที่จะอยู่ในเสนาสนะป่านั้นท่านก็จะสามารถบำเพ็ญได้แต่วาสธุระ (การปฏิบัติวิปัสสนาธุระ) ได้เพียงอย่างเดียว บำเพ็ญคันถธุระ (การเล่าเรียนด้านปริยัติ) ไม่ได้ แต่ถ้าท่านเลือกที่จะอยู่ในสำนักพระบรมศาสดาจะสามารถบำเพ็ญกิจทั้งสองนี้ได้ แล้วทรงเล็งเห็นว่าในอนาคตท่านพระอุบาลีจะบรรลุพระอรหัต และจะเป็นหัวหน้าในฝ่ายวินัยปิฎก เมื่อทรงดำริความข้อนี้ จึงไม่ทรงอนุญาตการอยู่ป่าแก่พระเถระ.
พระอุบาลีนั้นรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมอยู่ ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต และพระศาสดาก็ทรงสอนพระวินัยปิฎกให้พระอุบาลีด้วยพระองค์เอง
พระอุบาลีเถระกับการบัญญัติพระวินัย
ท่านได้ทำหน้าที่ทรงจำพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นอย่างดี จนได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้า ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค เสนาสนขันธกะ ได้แสดงไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงวินัยกถา สรรเสริญพระวินัยและยกย่องการเรียนพระวินัย ได้ทรงยกพระอุบาลีเป็นตัวอย่าง และทรงชักชวนให้พระภิกษุทั้งหลายเรียนพระวินัยในสำนักของพระอุบาลี
ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ทรงวินัย
ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงให้ท่านเรียนพระวินัยปิฎกทั้งสิ้นด้วยพระองค์เอง ต่อมาท่านวินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่อง คือ เรื่องพระภิกษุเมืองภารุกัจฉะ เรื่องพระอัชชุกะ และเรื่องพระกุมารกัสสป ซึ่งพระศาสดาประทานสาธุการรับรองแต่ละเรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ
พระอรรถกถาเขียนไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับ (เรื่องที่ท่านพระอุบาลีเถระวินิจฉัยนั้นแล้ว) ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! อุบาลีกล่าวไว้ชอบแล้ว, อุบาลีกล่าวแก้ปัญหานี้ ดุจทำรอยเท้าไว้ในที่ไม่มีรอยเท้า ดุจแสดงรอยเท้าไว้ในอากาศ ฉะนั้น”
และได้ทรงกระทำเรื่องทั้ง ๓ เรื่องนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติ คือเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝัน
สมัยหนึ่ง ภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่า แล้วคิดว่า เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละ แล้วเดินทางไปสู่เมืองภารุกัจฉะ พบท่านพระอุบาลีในระหว่างทาง จึงกราบเรียนเรื่องนั้นให้ทราบ ท่านพระอุบาลีกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส อาบัติไม่มีเพราะความฝัน.

เรื่องพระอัชชุกะเมืองเวสาลี
สมัยหนึ่ง คหบดีอุปัฏฐากคนหนึ่งของท่านพระอัชชุกะในเมืองเวสาลี มีเด็กชาย๒ คน คือ บุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง ครั้งนั้นท่านคหบดีได้บอกกับท่านพระอัชชุกะว่าท่านได้ฝังทรัพย์ไว้ในที่ลับแห่งหนึ่ง ถ้าพระอัชชุกะเห็นว่าเด็กคนใดมีศรัทธาเลื่อมใส ก็ขอให้ท่านบอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็กคนดังกล่าว ต่อมาท่านคหบดีก็ได้ถึงแก่กรรม
ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระอัชชุกะเห็นว่าหลานชายของคหบดีนั้นเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส จึงได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้นแก่เด็กผู้เป็นหลานชาย หลานชายนั้นได้รวบรวมทรัพย์ และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้น
ต่อมา บุตรชายของคหบดีนั้น ได้เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า ระหว่าง บุตรชายหรือหลานชาย ใครเป็นทายาทของบิดา
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ธรรมดาบุตรชายย่อมเป็นทายาทของบิดา
บุตรชายของคหบดีก็บอกแก่พระอานนท์ว่า พระอัชชุกะนี้ ได้บอกที่ฝังทรัพย์ทรัพย์สมบัติของบิดาให้กับหลานชายของบิดา
ท่านพระอานนท์ว่า ถ้าอย่างนั้นท่านพระอัชชุกะก็ไม่เป็นสมณะ
ท่านพระอัชชุกะเมื่อได้ทราบเรื่องจึงได้ขอให้ท่านอานนท์ได้โปรดวินิจฉัยให้ความเป็นธรรมแก่ท่านด้วย
ในครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเป็นฝักฝ่ายของท่านพระอัชชุกะ ท่านจึงถามท่านพระอานนท์ว่า ภิกษุซึ่งเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่าให้บอกสถานที่ฝังทรัพย์แก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ?
ท่านพระอานนท์ตอบว่า.ไม่ต้องอาบัติ
ท่านพระอุบาลีจึงแจ้งแก่ท่านพระอานนท์ว่า ท่านพระอัชชุกะนี้ คหบดีเจ้าของทรัพย์ได้สั่งไว้ให้ท่านบอกสถานที่ฝังทรัพย์นี้แก่บุคคลชื่อนี้ จึงได้บอกแก่บุคคลนั้น ดังนั้นท่านพระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ.

เรื่องพระกุมารกัสสปะ
มารดาของพระเถระนั้น เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ นางได้เลื่อมใสในการบวช และได้เพียรขอบรรพชามาตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อย แม้นางจะอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ มารดาก็ไม่ยอมให้บรรพชา ต่อมาเมื่อนางเจริญวัยขึ้น บิดามารดาได้จัดการให้ได้แต่งงาน และไปอยู่ในตระกูลสามี ตัวสามีเองก็เป็นผู้มีจิตใจดังเทวดา
ครั้นต่อมาไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์ขึ้น แต่ตัวนางเองยังไม่ทราบความที่ตนเองนั้นตั้งครรภ์ขึ้นเลย ด้วยความประสงค์ที่จะบวช นางได้พยายามเอาใจสามี แล้วจึงขอบรรพชา.สามีนางก็ยินยอม และได้นำนางไปสู่สำนักของนางภิกษุณี ให้บวชในสำนักของนางภิกษุณี ที่เป็นฝ่ายของพระเทวทัต.
ในกาลต่อมา นางภิกษุณีเหล่านั้นทราบความที่นางมีครรภ์แล้ว จึงนำความไปบอกพระเทวทัต พระเทวทัต คิดเห็นเพียงเท่านี้ว่า จงอย่าให้ความเสียชื่อเสียงเกิดขึ้นแก่พวกนางภิกษุณีผู้เป็นพวกของเราจึงบอกว่าให้สึกนางนั้นเสีย.
นางภิกษุณีสาวนั้น ฟังคำนั้นแล้วจึงขอให้นำนางไปเฝ้าพระบรมศาสดา
พระศาสดา แม้ทรงทราบอยู่ว่า “นางได้มีครรภ์ตั้งแต่เมื่อนางยังเป็นคฤหัสถ์ ให้ปลอดเสียซึ่งคำนินทาของชนอื่น จึงรับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ท่านจุลอนาถบิณฑิกะนางวิสาขาอุบาสิกา และสกุลใหญ่อื่นๆ มาแล้ว ทรงโปรดให้พระอุบาลีเถระทำการชำระกรรมของภิกษุณีสาวนี้ให้หมดสิ้นไป ในท่ามกลางบริษัท ๔
พระเถระให้เชิญนางวิสาขามาแล้ว ให้สอบสวนอธิกรณ์นั้น.
นางวิสาขานั้นให้คนล้อมม่าน ตรวจดูมือ เท้า สะดือ และที่สุดแห่งท้องของนางภิกษุณีนั้นภายในม่าน แล้วนับเดือนและวันดู จึงทราบว่านางได้มีครรภ์ตั้งแต่ยังเป็นคฤหัสถ์ จึงบอกความนั้นแก่พระเถระ,
ครั้งนั้น พระเถระได้ทำให้ความเป็นผู้บริสุทธิ์ของนาง ให้ปรากฏขึ้นในท่ามกลางบริษัทแล้ว. พระศาสดาได้ทรงสดับเรื่องนั้นแล้วตรัสประทานสาธุการว่าท่านพระอุบาลีวินิจฉัยอธิกรณ์ถูกต้องดีแล้ว
ในกาลต่อมา นางก็ได้คลอดบุตรออกมาและพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทรงรับเป็นพระราชบุตรบุญธรรม ซึ่งเด็กนั้นต่อมมาก็คือ พระกุมารกัสสปะเถระ ซึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร และนางภิกษุณีนั้นต่อมาก็ได้ปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง
มีส่วนสำคัญในการทำปฐมสังคายนา
ในการสังคายนานั้น มีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม
เหล่าพระเถระจึงเริ่มปรึกษาและสมมติตนเป็นผู้ปุจฉาวิสัชนา โดยพระมหากัสสปเถระได้ปรึกษาภิกษุทั้งหลายว่าควรจะสังคายนา พระธรรมหรือพระวินัยก่อน ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า สมควรสังคายนาพระวินัยก่อนด้วยเหตุว่า พระวินัยได้ชื่อว่าเป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระวินัยยังตั้งอยู่ พระพุทธศาสนาจัดว่ายังดำรงอยู่
พระมหากัสสปจึงถามถึงผู้ที่สมควรจะเป็นธุระชี้แจงในเรื่องพระวินัย ภิกษุทั้งหลายเห็นสมควรให้ท่านพระอุบาลีเป็นผู้ชี้แจง ด้วยเหตุผลว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั่นเอง ทรงอาศัยวินัยปริยัติ จึงตั้งท่านพระอุบาลีไว้ในเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกของเราผู้ทรงวินัยฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงปรึกษากันว่า พวกเราจะถามพระอุบาลีเถระสังคายนาพระวินัย ดังนี้ ลำดับนั้นพระเถระก็ได้สมมติตนเองเพื่อต้องการถามพระวินัย. ฝ่ายพระอุบาลีเถระก็ได้สมมติตนเพื่อประโยชน์แก่การวิสัชนา.
[คำสมมติตนปุจฉาวิสัชนาพระวินัย]
ในการสมมตินั้นในพระไตรปิฎกได้บรรยายไว้ดังนี้ :-
ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ! ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าพึงถามพระวินัยกะพระอุบาลี.
ฝ่ายพระอุบาลีก็เผดียงให้สงฆ์ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพรั่งพร้อมของสงฆ์ถึงที่แล้วไซร้ ข้าพเจ้าผู้อันท่านพระมหากัสสปถามแล้วพึงวิสัชนาพระวินัย.
[ปุจฉาและวิสัชนาพระวินัย]
ท่านพระอุบาลีครั้นสมมติตนอย่างนั้นแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะห่มจีวรเฉวียงบ่า ไหว้ภิกษุเถระทั้งหลายแล้วนั่งบนธรรมาสน์ พระมหากัสสปนั่งบนเถรอาสน์ แล้วถามพระวินัยกับท่านพระอุบาลีว่า
พระมหากัสสป
ท่านอุบาลี ! ปฐมปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ ณ ที่ไหน ?
พระอุบาลี
ที่เมืองเวสาลี ขอรับ.
พระมหากัสสป
ทรงปรารภใคร?
พระอุบาลี
ทรงปรารภพระสุทินกลันทบุตร.
พระมหากัสสป
ทรงปรารภในเพราะเรื่องอะไร?
พระอุบาลี
ในเพราะเรื่องเมถุนธรรม.
ต่อจากนั้น ท่านพระมหากัสสป ถามท่านพระอุบาลีถึง วัตถุ, นิทาน, บุคคล, บัญญัติ, อนุบัญญัติ, อาบัติ และอนาบัติ แห่งปฐมปาราชิก,. แห่งทุติยปาราชิก,.แห่งตติยปาราชิก, และแห่งจตุตถปาราชิก จนครบถ้วน. พระอุบาลีเถระนั้น เมื่อพระมหากัสสปถามแล้ว ท่านก็ได้วิสัชนาตอบโดยละเอียด
[รวบรวมพระวินัยของภิกษุไว้เป็นหมวด ๆ]
ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลาย กำหนดปาราชิก ๔ เหล่านี้เข้าสู่การสังคายนาว่าชื่อ ปาราชิกกัณฑ์
แล้วได้ตั้งสังฆาทิเสส ๑๓ ไว้ชื่อว่า เตรสกัณฑ์
ตั้ง ๒ สิกขาบทไว้ชื่อว่า อนิยต
ตั้ง ๓๐ สิกขาบทไว้ชื่อว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ตั้ง ๙๒ สิกขาบทไว้ชื่อว่า ปาจิตตีย์
ตั้ง ๔ สิกขาบทไว้ชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ชื่อว่า เสขิยะ
และ ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ชื่อว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้.
[รวบรวมวินัยของภิกษุณีไว้เป็นหมวด ๆ]
พระเถระทั้งหลายครั้นยกมหาวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนั้นแล้ว จึง
ตั้ง ๘ สิกขาบท ในภิกษุณีวิภังค์ ไว้ชื่อว่า ปาราชิกกัณฑ์
ตั้ง ๑๗ สิกขาบท ไว้ชื่อว่า สัตตรสกัณฑ์
ตั้ง ๓๐ สิกขาบท ไว้ชื่อว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ตั้ง ๑๖๖ สิกขาบท ไว้ชื่อว่า ปาจิตตีย์
ตั้ง ๘ สิกขาบทไว้ชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ
ตั้ง ๗๕ สิกขาบทไว้ชื่อว่า เสขิยะ (และ)
ตั้งธรรม ๗ ประการไว้ชื่อว่า อธิกรณสมถะ ดังนี้.
พระเถระทั้งหลาย ครั้นยกภิกษุณีวิภังค์ขึ้นสู่สังคหะอย่างนี้แล้ว จึงได้ยกแม้ขันธกะและบริวารขึ้น (สู่สังคายนา) โดยลักษณะเช่นเดียวกันนั้น. ดังนั้น พระวินัยปิฎก พร้อมทั้งอุภโตวิภังค์ขันธกะและบริวาร ทั้งหมดนี้ พระเถระทั้งหลายก็ยกขึ้นสู่สังคหะแล้วด้วยลักษณะเช่นนี้.
เมื่อครั้นพระมหากัสสปเถระ ได้ถามวินัยปิฎกทั้งหมด. พระอุบาลีเถระก็ได้วิสัชนาแล้ว. ในที่สุดแห่งการปุจฉาและวิสัชนา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ก็ได้ทำการสวดสาธยายเป็นคณะ โดยลักษณะที่ยกขึ้นสู่สังคหะนั้น ในอวสานแห่งการสังคายนาพระวินัย พระอุบาลีเถระก็ลงจากธรรมาสน์ไหว้พวกภิกษุผู้แก่พรรษากว่าแล้วนั่งบนอาสนะของท่าน
[เริ่มสังคายนาพระสูตร]
พระมหาเถระมีพระอุบาลีเป็นต้นนำพระวินัยปิฎกสืบต่อมา
พระวินัยปิฎกนี้ ท่านพระอุบาลีเถระจำทรงไว้ต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเบื้องต้นก่อน.เมื่อครั้งพระตถาคตเจ้ายังไม่ปรินิพพาน และพระภิกษุหลายพันรูป ทรงจำไว้ต่อจากท่านพระอุบาลีเถระนั้น เมื่อพระตถาคตเจ้าปรินิพพานแล้ว พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย มีพระมหากัสสปเป็นประมุข ก็ทรงจำกันต่อมา.
พระวินัยนำสืบต่อมาตามลำดับในสำนักพระอุบาลีเถระ ตั้งปฐมสังคายนามาจนถึงจนถึงตติยสังคายนาครั้งที่ ๓. สำนักพระอุบาลีเถระนั้นมีลำดับพระเถราจารย์ดังต่อไปนี้ :-
พระอุบาลีเถระเล่าเรียนมาจาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระทาสกเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระอุบาลีเถระผู้เป็นอุปัชฌายะของตน
พระโสณกเถระเล่าเรียนมาในสำนักของพระทาสกเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน
พระสิคควเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระโสณกเถระ ผู้เป็นอุปัชฌายะของตน
พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เล่าเรียนมาในสำนักของพระสิคควเถระผู้เป็นอุปัชฌายะของตน.
และพระพระโมคคลีบุตรติสสเถระนี้เองที่เป็นผู้กระทำตติยสังคายนา (การสังคายนาครั้งที่ 3) ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย ใน พ.ศ. 235
page="ประวัติพระอุบาลีเถระ";

พระพุทธ
4
พระธรรม
4
พระสงฆ์
4
อุบาสก
4
อุบาสิกา
4
ปกิณกะ
4
• พุทธประวัติ
• พุทธประวัติทัศนศึกษา
• ทศชาติชาดก
4
• ชาดก ๕๔๗ เรื่อง
4
• ประทีปแห่งเอเซีย
• ๓ เดือนก่อนปรินิพพาน
• บุคคลผู้เป็นเอกหาได้ยากในโลก
• พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
• พระปัจเจกพุทธเจ้า
• พระพุทธเจ้าในนิกายเถรวาทและมหายาน
• พุทธกิจ ๔๕ พรรษา
• พุทธการกธรรม
• พุทธธรรมดา ๓๐ ทัศ
• พุทธศาสนายุคหลังพุทธปรินิพพาน
• พระไตรปิฎก
4
• พระอภิธรรม
4
• ศีล
4
• บทสวดมนต์
4
• พระคาถาชินบัญชร
4
• มิลินทปัญหา
• พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
• นวโกวาท
• ปกิณกธรรม
4
• พระอสีติมหาสาวก
• เอตทัคคะ ภิกษุ
4
• เอตทัคคะ ภิกษุณี
4
• ประวัติอาจารย์ สายพระป่า
• ประวัติอาจารย์ สายพระบ้าน
• คำสอนอาจารย์
• ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
• พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช
4
• สมณศักดิ์
• พระบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน
• บันทึกลับ ภิกษุนิรนาม
• ภาพในหลวงกับพระสุปฏิปันโน
• เอตทัคคะ(อุบาสก)
4
• ประวัติอุบาสกคนสำคัญ
4
• ธรรมะโดยอุบาสก
4
• พระสมาธิของพระเจ้าอยู่หัว
• พระราชกฤษฎาภินิหาร
• พระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระปรีชา
• ทิพยอำนาจในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• เมื่อกษัตริย์โบดวง ทรงชักนำในหลวงเปลี่ยนศาสนา
• เอตทัคคะ (อุบาสิกา)
4
• ประวัติอุบาสิกาคนสำคัญ
4
• คำสอนโดยอุบาสิกา
4
• นิทานเซน
• โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
• โอวาทท่านจี้กง
• ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ
• ศาสนพิธี
• สารบัญปัญหาจากการปฏิบัติ
• สารบัญปัญหาจากการดูจิต
• พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
4
• เรื่องที่น่าสนใจ
• เตมีย์ชาดก
• ชนกชาดก
• สุวรรณสามชาดก
• เนมิราชชาดก
• มโหสถชาดก
• ภูริทัตชาดก
• จันทกุมารชาดก
• นารทชาดก
• วิทูรชาดก
• เวสสันดรชาดก
เรียงตามนิบาต
เรียงตามชื่อ
ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก
ความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท
ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
ความหมายของพระไตรปิฎก
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
คำอธิบายพระไตรปิฎกอย่างย่อ
ลำดับคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เนื้อหาโดยสังเขปของพระไตรปิฎก
แก่นธรรมจากทีฆนิกาย
ความคิดของคนที่ไม่เข้าถึงสภาวะธรรม
ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก
สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม
4
พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน
ปรมัตถธรรมสังเขป
จิตตสังเขป
นวโกวาท วินัยบัญญัติ
เบญจศีล
อานิสงส์ของศีล ๕
ข้อห้ามและศีลของสมณเพศ
4
อย่างไรจึงผิดศีล
ผิดศีล..ตัดสินอย่างไร
ถือศีลอย่างไรจึงจะไม่กลายเป็นสังโยชน์
วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ
บทสวดทำวัตรเช้า
บทสวดทำวัตรเย็น
บทสวดมนต์เจ็ดตำนาน
บทสวดมนต์สิบสองตำนาน
บทสวดถวายพรพระ
อานิสงส์ของการสวดพระพุทธคุณ
บทสวดมนต์ต่าง ๆ
บทสวดพระอภิธรรมในงานศพ
ฉบับอ.พร รัตนสุวรรณ
ฉบับพระพิมลธรรม (อาสภเถระ)
ฉบับ 'ฉันทิชัย'
ฉบับสิงหฬ
ฉบับ สงฺขฺยาปกาสกฎีกา
ความหมายของธรรม
ปฏิจจสมุปบาท
ตำนานพระปริตร
การอ่านภาษาบาลี
คำถามเกี่ยวกับบทสวดมนต์
อกุศลกรรมบท ๑๐
4
สมถะกรรมฐาน-อัปปนาสมาธิ
ภพภูมิ 31 ภูมิ
กิเลส ๑๐
อนุสสติ ๑๐
กังขาเรวตะ
กาฬุทายี
กุมารกัสสปะ
กุณฑธานะ
จุลปันถกะ
ทัพพมัลลบุตร
นันทะ (พุทธอนุชา)
นันทกเถระ
ปิณโฑลภารทวาชะ
ปิลินทวัจฉะ
ปุณณมันตานีบุตร
พากุละ
พาหิยทารุจีริยะ
ภัททิยกาฬิโคธาบุตร
มหากัจจายนะ
มหากัปปินะ
มหากัสสปะ
มหาโกฐิตะ
มหาปันถกะ
โมคคัลลานะ
โมฆราชะ
รัฐปาละ
ราธะ
ราหุล
เรวตขทิรวนิยะ
ลกุณฎกภัททิยะ
วักกลิ
วังคีสะ
สาคตะ
สารีบุตร
สีวลี
สุภูติ
โสณกุฏิกัณณะ
โสณโกฬิวิสะ
โสภิตะ
อนุรุทธ
อัญญาโกณทัญญะ
อานนท์
อุบาลี
อุปเสนวังคันตบุตร
อุรุเวลกัสสปะ
นางสุชาดา
นางวิสาขามิคารมาตา
นางขุชชุตตรา
นางสามาวดี
นางอุตตรานันทมาตา
นางสุปปวาสาโกลิยธีตา
นางสุปปิยาอุบาสิกา
นางกาติยานี
นางนกุลมาตาคหปตานี
นางกาฬีอุบาสิกา
สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
สมเด็จพระสังฆราช (มี)
สมเด็จพระสังฆราช (สุก)
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
สมเด็จพระสังฆราช (สา)
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
สมเด็จพระสังฆราช (ปลด)
สมเด็จพระสังฆราช (อยู่)
สมเด็จพระสังฆราช (จวน)
สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น)
สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์)
สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ)
พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ
อนาถปิณฑิกคฤหบดี
จิตตคฤหบดี
หัตถกอุบาสก
เจ้ามหานามศากยะ
อุคตคฤหบดี
อุคคฤหบดี
สูรัมพัฏฐเศรษฐีบุตร
หมอชีวกโกมารภัจจ์
นกุลปิตาคฤหบดี
อุบาสกเปลี่ยน รักแซ่
อ.เสถียร โพธินันทะ
อ.พร รัตนสุวรรณ
อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์
เซียนสู พรหมเชยธีระ
อ.สัญญา ธรรมศักดิ์
อ.บุญมี เมธางกูร
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
อ.วศิน อินทสระ
ดร.ระวี ภาวิไล
สุลักษณ์ ศิวรักษ์
สมพร เทพสิทธา
สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า
• สันตินันท์
• สู พรหมเชยธีระ
• ดังตฤณ
• เสถียร โพธินันทะ
• สุชีพ ปุญญานุภาพ
• วศิน อินทสระ
• น.พ.กำพล พันธ์ชนะ
• เขมานันทะ
• ไชย ณ พล
• กำพล ทองบุญนุ่ม
• บุญมี เมธางกูร
• มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
• ศ.นพ.อวย เกตุสิงห์
• สุลักษณ์ ศิวรักษ์
• ท่านอื่น ๆ
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
พระเขมาเถรี
พระอุบลวัณณาเถรี
พระปฏาจาราเถรี
พระธัมมทินนาเถรี
พระนันทาเถรี
พระโสณาเถรี
พระสกุลาเถรี
พระภัททากุณฑลเกสาเถรี
พระภัททากปิลานีเถรี
พระภัททากัจจานาเถรี
พระกีสาโคตมีเถรี
พระสิงคาลมาตาเถรี
กี นานายน
กนิษฐา วิเชียรเจริญ
แนบ มหานีรานนท์
สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุล
สิริ กรินชัย
พิมพา วงศาอุดม
ศันสนีย์ เสถียรสุต
สุจิตรา อ่อนค้อม
รัญจวน อินทรกำแหง
บุญเรือน โตงบุญเติม
สุรีพันธ์ มณีวัต
แก้ว เสียงล้ำ
• กี นานายน
• สุจินต์ บริหารวนเขตต์
• แนบ มหานีรานนท์
• Nina Van Gorkom
• อัญญมณี มัลลิกะมาส
• ละมัย เขาสวนหลวง
• พิกุล มโนเจริญ
• อมรา มลิลา
• พิมพา วงศาอุดม
• รัญจวน อินทรกำแหง
• สุรีพันธ์ มณีวัต
ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ
การกำเนิดชีวิตและจักรวาล
ชีวิตกับจักรวาล
ความรู้กับสภาวะแห่งการรู้
ธรรมะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
เต๋าแห่งฟิสิกส์
พุทธศาสนาในฐานะรากฐานของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์สมาธิ
คำนำ
ห้ามฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง
ศีล ๑๐ ข้อของสามเณร
ศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ
4
ครุธรรม ๘ ของภิกษุณี
คำนำ
ปาณาติบาต
อทินนาทาน
กาเมสุ มิจฉาจาร
มุสาวาท
ปิสุณาวาจา
ผรุสวาจา
สัมผัปปลาปะ
อภิชฌา
พยาบาท
มิจฉาทิฏฐิ
สรุปอกุศลกรรมบท ๑๐
ปาราชิก
สังฆาทิเสส
อนิยตกัณฑ์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ
เสขิยะสารูป
โภชนปฏิสังยุตต
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์
ปกิณสถะ
ธิกรณสมถะ
คำนำ
พระอภิธรรม คืออะไร
ปรมัตถธรรม
บัญญัติธรรม
ปรมัตถธรรม อยู่เหนือการสมมุติ
ประวัติพระอภิธรรม
พระอภิธัมมัตถสังคหะ
การสวดพระอภิธรรมในงานศพ
ประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรม
สำนักศึกษาพระอภิธรรม
ผู้เรียบเรียง
บรรณานุกรม

พระอานนท์

พระอานนท์
พระอานนท์ ก่อนจะผนวชนั้น ทรงเป็นเจ้าชายแห่ง
ศากยวงศ์ โดยท่านเป็นพระโอรสของพระเจ้าอมิโตทนศากยราช ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระพุทธบิดา พระมารดาของท่านทรงพระนามว่า มฤคี พระอานนท์จึงถือว่าเป็นลูกผู้น้องของเจ้าชายสิทธัตถะ และเป็นสหชาติของเจ้าชายสิทธัตถะ เนื่องจากในวันประสูตินั้น ได้บังเกิดสหชาติกับพระพุทธเจ้า ทั้ง 7 ได้แก่ (1) พระนางพิมพาราหุลมาตา (2) ฉันนะอำมาตย์ (3) กาฬุทายิอำมาตย์ (4) พระอานนท์ (5) กันถกอัสสราช (6) ต้นมหาโพธิ์ (7) ขุมทรัพย์ 4 ทิ เจ้าชายอานนท์ออกผนวช
เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ในพรรษาที่ ๒ ได้เสด็จกลับไปโปรดพระพุทธบิดา และพระญาติวงศ์ศากยะ ณ นครกบิลพัศดุ์ ในครั้งนั้นบรรดาศากยราชได้ทรงเลื่อมใสศรัทธา ต่างได้ถวายพระโอรสของตนให้ออกบวชตามเสด็จ ยังเหลือแต่ศากยกุมารเหล่านี้คือ เจ้าชายมหานามะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอานนท์ และเจ้าชายเทวทัต ครั้นพระพุทธองค์ประทับอยู่กรุงกบิลพัศดุ์พอสมควรแก่กาลแล้วก็เสด็จจาริกต่อไปยังที่อื่น
ศากยกุมารเหล่านี้ได้ถูกพระประยูรญาติวิจารณ์ว่า เหตุที่ไม่อกผนวชตามเสด็จนั้น คงจะไม่ถือว่าตนเองเป็นพระประยูรญาติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากระมัง เจ้าชายมหานามะได้ฟังดังนั้นเกิดละอายพระทัย จึงได้ไปปรึกษากับเจ้าชายอื่นๆ ในที่สุดตกลงกันว่าจะออกผนวชตามเสด็จ โดยเจ้าชายมหานามะไม่อาจบวชได้ เนื่องจากจะต้องเป็นกษัตริย์ต่อไป จึงให้พระอนุชาคือเจ้าชายอนุรุทธะออกผนวชแทน ศากยกุมารทั้ง 6 องค์ มีพระอานนท์ เป็นต้นรวมทั้งอุบาลี ซึ่งเป็นกัลบกด้วยเป็น 7 ได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปเพื่อขอบรรพชาอุปสมบท และได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่อนุปิยอัมพวัน เขตอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ แล้ว กราบทูลว่า
“พระพุทธเจ้าข้า พวกหม่อมฉันเป็นเจ้าศากยะยังมีมานะ ความถือตัวอยู่ อุบาลีผู้นี้เป็น นายภูษามาลา เป็นผู้รับใช้ของหม่อมฉันมานาน ขอพระผู้มีพระภาคจงให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้บวชก่อนเถิด พวกหม่อมฉันจักทำการอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่อุบาลีผู้เป็นภูษามาลานี้ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความถือตัวว่าเป็นศากยะ ของพวกหม่อมฉันผู้เป็นศากยะจักเสื่อมคลายลง”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคโปรดให้อุบาลีผู้เป็นภูษามาลาบวชก่อน ให้ ศากยกุมารเหล่านั้นผนวชต่อภายหลัง ฯ พระอุปัชฌายะของท่าน พระอานนท์ ชื่อพระเวลัฏฐสีสเถระ

[แก้] พระอานนท์บรรลุโสดาบัน
เมื่อศากยราชกุมารทั้ง 6 และอุบาลีได้ผนวชแล้ว ท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหัตถ์เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง ท่านพระอนุรุทธเป็นผู้มีจักษุเป็นทิพย์ ภายหลังบรรลุพระอรหัตผล พระภคุเถระและพระกิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พระเทวทัตได้บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน
สำหรับท่านพระอานนท์ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาธรรมจากสำนักของท่านพระปุณณมันตานีบุตร ไม่นานก็ได้สำเร็จชั้นโสดาบัน ในกาลต่อมาท่านได้เล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตร มีอุปการคุณต่อท่านและพวกภิกษุผู้นวกะมาก ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้กล่าวสอนท่านว่า
"ดูกรอานนท์ เพราะถือมั่นจึงมีตัณหา มานะ ทิฐิว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่าเป็นเรา เพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหา มานะ ทิฐิว่า เป็นเรา เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษรุ่นหนุ่มสาวมีนิสัยชอบแต่งตัวส่องดูเงาของตนที่กระจกหรือที่ภาชนะน้ำอันใสบริสุทธิ์ผุดผ่อง เพราะยึดถือจึงเห็น เพราะไม่ยึดจึงไม่เห็น ฉันใด เพราะถือมั่นรูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงมีตัณหา มานะ ทิฐิ ว่า เป็นเราเพราะไม่ถือมั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงไม่มีตัณหามานะ ทิฐิว่า เป็นเรา ฉันนั้นเหมือนกัน”
จากนั้น ท่านพระอานนท์เล่าต่อไปว่า ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ถามท่านว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยงท่านตอบว่าไม่เที่ยง และในตอนสุดท้ายของการสอนธรรมครั้งนี้ ท่านบอกแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ท่านได้ตรัสรู้ธรรม ซึ่งหมายถึงได้สำเร็จเป็น
พระโสดาบัน

[แก้] พระอานนท์ได้รับแต่งตั้งเป็นพุทธอุปัฎฐาก

ภาพเขียน พระอานนท์ ในวิหาร ประเทศลาว
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้ทรงตรัสรู้แล้วถึง 20 พรรษา แต่ยังไม่มีผู้ใดเป็นพุทธอุปัฎฐากประจำ ซึ่งได้สร้างความลำบากแก่พระองค์เป็นอย่างมาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสว่า บัดนี้พระองค์ทรงพระชราแล้ว ภิกษุผู้อุปัฏฐากพระองค์บางรูปทอดทิ้งพระองค์ไปตามทางที่ตนปรารถนา บางรูปวางบาตรจีวรของพระองค์ไว้บนพื้นดินแล้วเดินจากไปเสีย จึงขอให้พระสงฆ์เลือกพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ คณะสงฆ์เห็นว่าควรจะมีพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งคอยสนองงานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในครั้งนั้นพระสงฆ์ทั้งหลายนำโดยพระสารีบุตรมหาเถระ ได้กราบทูลขอเป็นพุทธอุปัฎฐาก แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระเถระรูปอื่นๆ จะกราบทูลเสนอตัวเป็นพุทธอุปัฏฐาก แต่พระพุทธองค์ก็ทรงห้ามเสียทุกรูป คงเว้นแต่พระอานนท์ที่มิได้กราบทูลด้วยถ้อยคำใด พระภิกษุรูปอื่นได้เตือนให้พระอานนท์ขอโอกาส แต่ท่านพระอานนท์กล่าวว่า
"ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อันตำแหน่งที่ขอได้มานั้นจะมีความหมายอะไรเล่า พระบรมศาสดาไม่ทรงเห็นข้าพเจ้าเลยกระนั้นหรือ? ก็หากพระองค์ทรงพอพระทัยในตัวข้าพเจ้าแล้วไซร้ พระองค์ก็คงตรัสเองว่า อานนท์เธอจงอุปัฏฐากเราเถิด"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า ไม่มีผู้ใดจะสามารถให้ท่านพระอานนท์เกิดความอุตสาหะขึ้นมาได้เลย แต่เมื่อท่านพระอานนท์รู้แล้ว ท่านจักอุปัฏฐากพระองค์เอง เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้ยินพระดำรัสนั้น ก็ทราบทันทีว่า พระองค์ทรงประสงค์ให้ท่านพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐาก จึงได้พูดตักเตือนให้ท่านทูลขอตำแหน่งพุทธุปัฏฐากจากพระองค์

[แก้] พระอานนท์ขอประทานพร 8 ประการ
ดังนั้น ท่านพระอานนท์จึงได้กราบทูลขอพร 8 ประการ หากพระองค์ทรงประทานพร 8 ประการนี้ ท่านจึงจะรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐากท่านกราบทูลขอพร ว่า
ถ้าจักไม่ประทานจีวรอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
ถ้าจักไม่ประทานบิณฑบาตอันประณีตที่พระองค์ได้แล้วแก่ข้าพระองค์
ถ้าจักไม่โปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
ถ้าจักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่ที่ทรงรับนิมนต์ไว้
ถ้าพระองค์จักไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้
ถ้าข้าพระองค์จะพาบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเพื่อเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาแล้ว
ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอันใดในที่ลับหลังข้าพระองค์จักเสด็จมาตรัสบอกพระธรรมเทศนานั้นแก่ข้าพระองค์อีก
เมื่อข้าพระองค์ได้รับพร 8 ประการนี้ แหละจึงจักเป็นพุทธุปัฏฐากของพระองค์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามถึงโทษและอานิสงส์ที่ทูลขอพร 8 ประการนี้ ท่านได้กราบทูลว่า ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 1-4 ก็จักมีคนพูดได้ว่า ท่านรับตำแหน่งพุทธุปัฏฐาก เพื่อหวังลาภสักการะอย่างนั้น ๆ เพื่อป้องกันปรวาทะอย่างนั้น ท่านจึงได้ทูลขอพร 4 ข้อนี้ ถ้าท่านไม่ทูลขอพรข้อ 5-7 ก็จักมีคนพูดได้ว่า พระอานนท์บำรุงพระศาสดาไปทำไม เพราะกิจเท่านี้พระองค์ก็ยังไม่ทรงสงเคราะห์เสียแล้ว และหากท่านไม่ทูลขอพรข้อ 8 เมื่อมีคนมาถามท่านลับหลัง พระพุทธองค์ว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสที่ไหน? ถ้าท่านตอบเขาไม่ได้ เขาก็จะพูดได้ว่า พระอานนท์เฝ้าติดตามพระผู้มีพระภาคเหมือนเงาตามตัวอยู่เป็นเวลานาน ทำไมเรื่องเท่านี้ยังไม่รู้?
ครั้นท่านได้ทูลชี้แจงแสดงโทษในข้อที่ไม่ควรได้ และอานิสงส์ในข้อที่ควรได้อย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคจึงทรงประทานพรตามที่พระอานนท์กราบทูลขอทุกประการ ท่านพระอานนท์จึงได้รับตำแหน่งพุทธอุปัฏฐาก และได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เป็นเวลา 25 พรรษา

[แก้] กิจในหน้าที่ของพุทธอุปัฏฐาก
ท่านพระอานนท์ได้รับตำแหน่ง ท่านก็ได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดี กิจที่ท่านทำเป็นประจำแก่พระพุทธเจ้าคือ
ถวายน้ำ 2 อย่าง คือน้ำเย็นและน้ำร้อน
ถวายไม้สีฟัน 3 ขนาด
นวดพระหัตถ์และพระบาท
นวดพระปฤษฏางค์
ปัดกวาดพระคันธกุฏี และบริเวณพระคันธกุฏี
ในตอนกลางคืนท่านกำหนดเวลาได้ว่า เวลานี้พระพุทธองค์ทรงต้องการอย่างนั้นอย่างนี้แล้วเข้าเฝ้า เมื่อเฝ้าเสร็จก็ออกมาอยู่ยาม ณ ภายนอกพระคันธกุฏีในคืนหนึ่ง ๆ ท่านถือประทีปด้ามใหญ่เวียนรอบบริเวณพระคันธกุฏีถึง 8 ครั้ง ท่านคิดว่าหากท่านง่วงนอน เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรียกท่านจะไม่สามารถขานรับได้ ฉะนั้น จึงไม่ยอมวางประทีปตลอดทั้งคืน
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้กล่าวยกย่องท่านพระอานนท์ไว้ว่าท่านขยันในการอุปัฏฐากมาก ในบรรดาพระภิกษุผู้เคยอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาแล้ว ไม่มีใครทำได้เหมือนท่าน เพราะพระภิกษุเหล่านั้นไม่รู้พระทัยของพระพุทธองค์ดี จึงอุปัฏฐากได้นาน ด้วยเหตุนี้ในคราวที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้ตรัสกับท่านว่า
"อานนท์ เธอได้อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายธรรม วจีกรรมมโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หากประมาณมิได้มาช้านานแล้ว เธอได้ทำบุญไว้มากแล้วอานนท์ เธอจงประกอบความเพียรเถิด จักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน"
แล้วตรัสประกาศเกียรติคุณของพระอานนท์ให้ปรากฏแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ที่มีมาแล้วในอดีตกาลภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอย่างยิ่งก็เหมือนกับอานนท์ของเราเท่านั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จักมีอนาคตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอย่างยิ่งก็เพียงอานนท์ของเราเท่านั้น อานนท์เป็นบัณฑิตย่อมรู้ว่า นี่เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้าพระตถาคตนี่เป็นกาลของพวกภิกษุ นี่เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี่เป็นกาลของพวกอุบาสก นี่เป็นกาลของพวกอุบาสิกา นี่เป็นกาลของพระราชา นี่เป็นกาลของพวกอำมาตย์ราชเสวก นี่เป็นกาลของพวกเดียรถีย์ นี่เป็นกาลของพวกสาวกของพวกเดียรถีย์”

[แก้] พระอานนท์ผู้เป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุรูปอื่น
พระอานนท์ได้รับการสรรเสริญจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็น
เอตทัคคะ (เลิศ) 5 ประการคือ
มีสติ รอบคอบ
มีคติ คือความทรงจำแม่นยำ
มีความเพียรดี
เป็นพหูสูต
เป็นยอดของภิกษุผู้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า
ภิกษุอื่น ๆ ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะก็ได้รับเพียงอย่างเดียว แต่พระอานนท์ท่านได้รับถึง 5 ประการ นับว่าหาได้ยากมาก ความเป็นพหูสูตรของพระอานนท์นั้นนับว่าเป็นคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา กล่าวคือภายหลังพุทธปรินิพพานแล้ว มีภิกษุบางพวกกล่าวติเตียนพระศาสนา ทำให้พระมหากัสสปเถระเกิดความสังเวชในใจว่า ในอนาคตพวกอลัชชีจะพากันกำเริบ ย่ำเหยียบพระศาสนา จำต้องกระทำการสังคายนา
พระไตรปิฎกให้เป็นหมวดหมู่ จึงได้นัดแนะพระภิกษุสงฆ์ให้ไปประชุมกันที่กรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัยตลอดเข้าพรรษา
การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งนั้นได้มีพระมหาเถระ 3 รูปที่มีส่วนสำคัญในการสังคายนา กล่าวคือ พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปฐาก ซึ่งได้รับประทานพรข้อที่ 8 ทำให้ท่านเป็นผู้ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก ท่านจึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ดังบทสวดคาถาต่าง ๆ มักขึ้นต้นด้วย “เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา.....” อันหมายถึง “ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า”
พระอุบาลี ซึ่งเคยเป็นพนักงานภูษามาลาในราชสำนักกรุงกบิลพัสดุ์ และออกบวชพร้อมศากยราชกุมาร ท่านได้จดจำพระวินัยเป็นพิเศษ มีเรื่องเล่าในพระวินัยปิฏกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องวินัยแก่พระภิกษุทั้งหลาย และสรรเสริญพระวินัยและสรรเสริญพระอุบาลีเป็นอันมาก ภิกษุทั้งหลายจึงพากันไปเรียนวินัยจากพระอุบาลี ในการสังคายนาครั้งนี้ท่านจึงได้รับหน้าที่วิสัชชนาเกี่ยวกับพระวินัย
พระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นเลิศทางธุดงวัตรและเป็นผู้ชักชวนให้สังคายนาพระธรรมวินัย เป็นผู้ถามทั้งพระธรรมและพระวินัย
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้เล่าไว้ว่า ท่านพระอานนท์มีปัญญา มีความจำดี ท่านได้ฟังครั้นเดียว ไม่ต้องถามอีกก็สามารถจำได้เป็นจำนวนตั้ง 60,000 บาท 15,000 คาถา โดยไม่เลอะเลือน ไม่คลาดเคลื่อน เหมือนบุคคลเอาเถาวัลย์มัดดอกไม้ถือไป เหมือนจารึกอักษรลงบนแผ่นศิลา เหมือนน้ำมันใสของราชสีห์ที่บุคคลใส่ไว้ในหม้อทองคำ ฉะนั้น
ด้วยเหตุที่ท่านขยันเรียน และมีความจำดีนี่เอง ท่านจึงได้รับยกย่องว่าเป็นพหูสูต เป็นธรรมภัณฑาคาริก ทรงจำพระพุทธพจน์ได้ถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ คือท่านเรียกจากพระพุทธองค์ 82,000 พระธรรมขันธ์และเรียนจากเพื่อนสหธรรมมิกอีก 2,000 พระธรรมขันธ์ แม้ท่านจะเป็นเพียงพระโสดาบันก็ตาม แต่ท่านก็มีปัญญาแตกฉานในปฏิสัมภิทา มีความรู้เชี่ยวชาญในเรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงสามารถสั่งสอนศิษย์ได้มากมาย ศิษย์ของท่านส่วนมากก็เป็นพหูสูตเช่นเดียวกับท่าน ว่ากันว่า ท่านพูดได้เร็วกว่าคนธรรมดา 8 เท่า คือคนเราพูด 1 คำ ท่านพูดได้ 8 คำ
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ได้พรรณนาคุณของท่านพระอานนท์ไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ท่านมีรูปงาม น่าเลื่อมใส น่าทัศนายิ่งนัก ยิ่งเป็นพหูสูตด้วย ก็ยิ่งทำให้สังฆมณฑลนี้งดงามยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบริษัททั้ง 4 นิยมไปหาท่านกันมาก ข้อนี้สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสยกย่องท่านว่า ท่านมีอัพภูตธรรม คือคุณอันน่าอัศจรรย์ 4 ประการ คือ ถ้าภิกษุบริษัทภิกษุณีบริษัท อุบาสกบริษัท และอุบาสิกาบริษัทเข้าไปหาท่าน พอได้เห็นรูปเท่านั้นก็มีความยินดี พอได้ฟังธรรมเทศนาของท่านก็ยิ่งมีความยินดี แม้เมื่อท่านแสดงธรรมจบลงแล้ว ก็ยังฟังไม่อิ่ม แล้วทรงเปรียบเทียบท่านซึ่งมีคุณอันน่าอัศจรรย์นี้กับพระเจ้าจักรพรรดิ คือว่า พระเจ้าจักรพรรดินั้นเมื่อขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท และสมณบริษัทเข้าเฝ้า พอได้เห็นก็มีความยินดี ครั้นได้ฟังพระราชดำรัส ก็ยิ่งมีความยินดี แม้ตรัสจบแล้วก็ยังไม่อิ่ม
นอกจากหน้าที่อุปัฏฐากประจำองค์อย่างใกล้ชิดแล้ว ท่านพระอานนท์ ยังปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า งานรับสั่ง เช่น ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์รับสั่งให้ท่านไปประกาศคว่ำบาตรแก่
วัฑฒลิจฉวี เพราะเหตุที่วัฑฒลิจฉวีได้สมรู้ร่วมคิดกับพระเมตติยะ และพระภุมมชกะ กล่าวใส่ร้ายท่านพระทัพพมัลลบุตร ว่า เสพเมถุนธรรมกับชายาเดิมของท่าน ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านนำนางยักษิณีเข้าเฝ้า เพื่อระงับการจองเวรจองผลาญกันและกัน ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านเรียกพระภิกษุสงฆ์ที่นครเวสาลีเข้าประชุมเพื่อฟังอานาปานสติ ครั้งหนึ่งรับสั่งให้ท่านแจ้งข่าวแก่พวกมัลลกษัตริย์ กรุงกุสินาราว่า พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ป่าไม้สาละ ณ ราตรีนั้น เป็นต้น
งานมอบหมาย เช่น ครั้งหนึ่ง
พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเลื่อมใสศรัทธา ทรงพระประสงค์จะถวายนิตยภัตรแก่พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์เป็นประจำทุกวัน พระพุทธองค์ตรัสว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่รับนิตยภัตรประจำในที่แห่งเดียว เพราะมีคนจำนวนมากต้องการจะทำบุญกับพระพุทธเจ้า จึงหวังจะให้เสด็จไปหาตนกันทั้งนั้น เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบดังนั้น จึงทูลขอพระภิกษุ 1 รูปให้ไปรับนิตยภัตรของพระองค์ พระผู้มีพระภาค จึงทรงมอบภาระนี้ให้แก่ท่านพระอานนท์ เมื่อได้รับมอบหมายแล้ว ท่านก็ไปรับเป็นประจำ แม้ว่าในตอนหลัง ๆ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะทรงลืมสั่งให้คนจัดนิตยภัตรถวายไปบ้าง แต่ท่านก็ยังไปอยู่เป็นประจำ
อีกครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระประสงค์จะให้
พระนางมัลลิกาเทวี และพระนางวาสภขัตติยา พระมเหสีของพระองค์ได้ศึกษาธรรม จึงทูลนิมนต์ให้พระพุทธองค์กับภิกษุสงฆ์ 500 รูป ไปสอนธรรมแก่พระมเหสีทั้งสองพระพุทธองค์ตรัสบอกข้อขัดข้องดังกล่าวแล้วข้างต้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงมอบหมายให้ภิกษุรูปอื่นไปแทน พระพุทธองค์ก็มอบหมายให้ท่านพระอานนท์รับภาระหนี้ และท่านก็ทำได้ดีเช่นเดียวกัน และในตอนที่จะเสด็จปรินิพพาน ได้ทรงมอบหมายให้ท่านลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ เมื่อพระองค์นิพพานไปแล้วในฐานหัวดื้อไม่ยอมเชื่อฟังคำตักเตือนของพระอัครสาวก และเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วท่านก็ได้ไปลงพรหมทัณฑ์แก่พระฉันนะ สำเร็จตามที่ทรงมอบหมายไว้

[แก้] ความภักดีของพระอานนท์ที่มีต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระอานนท์นั้นเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ท่านยอมสละชีพของท่านเพื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างเช่น เมื่อพระเทวทัตได้วางอุบายจะปลงพระชนม์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมอมเหล้า
ช้างนาฬาคิรี ซึ่งกำลังตกมัน แล้วปล่อยออกไปในขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกบิณฑบาต โดยมีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เมื่อช้างนาฬาคิรีวิ่งเข้ามาทางพระพุทธองค์ พระอานนท์จึงได้เดินล้ำมาเบื้องหน้าพระศาสดา ด้วยคิดหมายจะเอาองค์ป้องกันสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระพุทธดำรัสให้พระอานนท์หลีกไป อย่าป้องกันพระองค์เลย แต่พระอานนท์ได้กราบทูลว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชีวิตของพระองค์มีค่ายิ่งนัก พระองค์อยู่เพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก เป็นดวงประทีปของโลก เป็นที่พึ่งของโลก ของพระองค์อย่าเสี่ยงกับอันตรายครั้งนี้เลย ชีวิตของข้าพระองค์มีค่าน้อย ขอให้ข้าพระองค์ได้สละสิ่งซึ่งมีค่าน้อยเพื่อรักษาสิ่งที่มีค่ามาก เหมือนสละกระเบื้อง เพื่อรักษาซึ่งแก้วมณีเถิดพระเจ้าข้าฯ”
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
“อย่าเลยอานนท์ บารมีเราได้สร้างมาดีแล้ว ไม่มีใครสามารถปลงชีวิตของตถาคตได้ ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉานหรือมนุษย์หรือเทวดามารพรหมใด ๆ”
ในขณะนั้นช้างนาฬาคิรีวิ่งมาจนจะถึงพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงได้แผ่พระเมตตาจากพระหฤทัย ซึ่งไปกระทบกับใจอันคลุกอยู่ด้วยความมึนเมาของช้างนาฬาคิรีได้ ช้างใหญ่หยุดชะงัก ใจสงบลงและหมอบลงแทบพระบาท พระพุทธองค์ทรงใช้พระหัตถ์ลูบที่ศีรษะพญาช้าง พร้อมกับตรัสว่า
“นาฬาคิรีเอ๋ย เธอกำเนิดเป็นดิรัจฉานในชาตินี้ เพราะกรรมอันไม่ดีของเธอในชาติก่อนแต่งให้ เธออย่าประกอบกรรมหนัก คือทำร้ายพระพุทธเจ้าเช่นเราอีกเลย เพราะจะมีผลเป็นทุกข์แก่เธอตลอดกาลนาน”
ช้างนาฬาคิรีน้ำตาไหลพราก น้อมรับฟังพระพุทธดำรัสด้วยอาการดุษฎี (ในคัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวว่า ในอนาคตกาลนับจากพระศรีอริยเมตไตรยพุทธเจ้าไป จะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้อีกหลายพระองค์ และช้างนาฬาคิรี จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระติสสพุทธเจ้า)

[แก้] พระอานนท์เป็นผู้ออกแบบจีวรสงฆ์
เกียรติคุณอีกอย่างหนึ่งที่ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ คือ มีฝีมือทางช่าง สาเหตุที่ทรงชมเชย มีว่าครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จจากนครราชคฤห์ไปสู่ทักษิณาคิรีชนบท ได้ทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคันนาสั้น ๆ คั่นในระหว่าง แล้วตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า จะเย็บจีวรอย่างนั้นได้ไหม? ท่านทูลรับว่า เย็บได้ และต่อมาท่านเย็บจีวรให้พระหลายรูปแล้วนำไปถวายให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทอดพระเนตรแล้วตรัสชมเชยในท่ามกลางสงฆ์ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด เป็นเจ้าปัญญา ซาบซึ้งถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำ ที่เรากล่าวโดยย่อให้พิสดารได้ ทำผ้ากุสิก็ได้ ทำผ้าอัฑฒกุสิ ผ้ามณฑล ผ้าอัฑฒมณฑล ผ้าวิวัฏฏะ ผ้าอนุวิวัฏฏะ ผ้าคีเวยยกะ ผ้าชังเฆยยกะ และผ้าพาหันตะก็ได้"

[แก้] พระอานนท์ผู้ประหยัด
นอกจากนี้พระอานนท์เป็นผู้ที่ประหยัดและฉลาดในเรื่องนี้มาก ดังเหตุการณ์ที่พระมเหสีของพระเจ้าอุเทน แห่งนครโกสัมพี เสื่อมใสในการแสดงธรรมของพระอานนท์ จึงได้ถวายจีวรจำนวน 500 ผืน แด่พระอานนท์ เมื่อพระเจ้าอุเทนทราบจึงตำหนิพระอานนท์ว่ารับจีวรไปจำนวนมาก เมื่อได้โอกาสจึงนมัสการถามว่าเอาจีวรไปทำอะไร
“พระคุณเจ้า ทราบว่าพระมเหสีถวายจีวรพระคุณเจ้า 500 ผืน พระคุณเจ้ารับไว้ทั้งหมดหรือ”
“ขอถวายพระพร อาตมาภาพรับไว้ทั้งหมด”
“พระคุณเจ้ารับไว้ทำไมมากมายนัก”
“เพื่อแบ่งถวายแก่พระภิกษุผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่า”
“จะเอาจีวรเก่าคร่ำคร่าไปทำอะไร”
“เอาไปทำเพดาน”
“จะเอาผ้าเพดานเก่าไปทำอะไร”
“เอาไปทำผ้าปูที่นอน”
“จะเอาผ้าปูที่นอนเก่าไปทำอะไร”
“เอาไปทำผ้าเช็ดเท้า”
“จะเอาผ้าเช็ดเท้าเก่าไปทำอะไร”
“เอาไปทำผ้าเช็ดธุลี”
“จะเอาผ้าเช็ดธุลีเก่าไปทำอะไร”
“เอาไปโขลกขยำกับโคลนแล้วฉาบทาฝา”
พระเจ้าอุเทนทรงเลื่อมใสว่าพระสมณบุตรเป็นผู้ประหยัด จึงถวายผ้าจีวรอีก 500 ผืนแด่พระอานนท์

[แก้] พระอานนท์ผู้เป็นปฐมเหตุให้เกิดภิกษุณี
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าสุทโทนมหาราช ผู้เป็นพระพุทธบิดาได้สิ้นพระชนม์แล้ว
พระนางมหาปชาบดี ผู้เป็นพระอัครมเหสี และพระมาตุจฉาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มีศรัทธาปสาทะ ที่จะออกบวชเป็นภิกษุณี จึงเสด็จพร้อมด้วยเหล่าศากยกุมารีหลายพระองค์ ได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทูลขอออกบวช แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามเสีย แม้พระนางเจ้าจะได้กราบทูลขอถึง 3 ครั้ง แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประทานพระพุทธานุญาต ทำให้พระนางเสียพระทัยมาก จึงกรรแสงอยู่หน้าประตูป่ามหาวัน เมื่อพระอานนท์ทราบเข้า จึงมีมหากรุณาจิตคิดจะช่วยเหลือพระนางให้สำเร็จดังประสงค์ จึงได้ไปกราบทูลขอสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ ทำให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานพระพุทธานุญาต โดยมีเงื่อนไขว่าสตรีนั้นจะต้องรับครุธรรม 8 ประการ ก่อน ถึงจะอุปสมบทได้ เสร็จแล้วสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงครุธรรม 8 ประการแก่พระอานนท์ และพระอานนท์ก็จำครุธรรม 8 ประการนั้นไปเฝ้าพระนางมหาปชาบดี ซึ่งพระนางก็ทรงยอมรับครุธรรมนั้น และได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีรูปแรกของพระพุทธศาสนา

[แก้] พระอานนท์บรรลุอรหัตผล
ภายหลังจากพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากัสสปเถระเจ้า ได้ดำริจะให้มีการทำปฐมสังคายนาพระธรรมวินัย พระมหาเถระได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้เลือกพระภิกษุผู้เชี่ยวชาญในพระธรรมวินัย จำนวน 500 รูป เพื่อทำปฐมสังคายนา ท่านพระมหากัสสปเถระเลือกได้ ๔๙๙ รูปอีกรูปหนึ่งท่านไม่ยอมเลือก ความจริงท่านต้องการจะเลือกเอาท่านพระอานนท์ แต่ขณะนั้นท่านพระอานนท์ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ครั้นจะเลือกท่านพระอานนท์ก็เกรงจะถูกครหาว่า "เห็นแก่หน้า" เพราะท่านรักพระอานนท์มาก แต่ครั้นจะเลือกภิกษุอื่น ไม่เลือกท่านพระอานนท์ ก็เกรงว่าการทำสังคายนาครั้งนี้จักไม่สำเร็จผลด้วยดี เพราะท่านพระอานนท์ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่าเป็นพหุสูตเป็นธรรมภัณฑาคาริก จึงได้ระบุชื่อพระเถระอื่น ๆ 499 รูป แล้วนิ่งเสีย ต่อพระสงฆ์ลงมติว่าท่านพระอานนท์ควรจะเข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ด้วย ท่านจึงได้รับเข้าเป็นคณะสงฆ์ผู้จะทำสังคายนา ครบจำนวน 500 รูป
เมื่อได้รับคัดเลือกแล้ว ท่านได้เดินทางจากนครกุสินารากลับไปยังนครสาวัตถีอีก ในระหว่างทางท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนจำนวนมากที่เศร้าโศกเสียใจ เพราะการปรินิพพานของพระพุทธองค์ เมื่อถึงพระเชตวันมหาวิหาร ท่านก็ได้ปฏิบัติปัดกวาดพระคันธกุฏีเสมือนเมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ นอกจากปฏิบัติพระคันธกุฏีแล้ว ท่านได้ใช้เวลาส่วนมากให้หมดไปด้วยการยืนและนั่ง ไม่ค่อยจะได้จำวัด ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ท่านไม่สบาย ต้องฉันยาระบายเพื่อให้กายเบา ครั้นให้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดในพระเชตวันสำเร็จแล้ว พอใกล้วันเข้าพรรษาจึงได้ออกเดินทางไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อร่วมทำสังคายนา เมื่อถึงแล้ว ท่านได้ทำความเพียรอย่างหนักเพื่อให้สำเร็จอรหัตต์ก่อนการทำสังคายนาแต่ก็ยังไม่สำเร็จ เพื่อน ๆ ได้ตักเตือนท่านว่า ในวันรุ่งขึ้นท่านจะต้องเข้าไปนั่งในสังฆสันนิบาตแล้ว ท่านเองเป็นพระเสขบุคคลอยู่ ขอให้ทำความเพียร อย่าประมาท ในคืนนั้น ท่านได้เดินจงกรม กำหนดกายคตาสติ จนจวบปัจจุสมัยใกล้รุ่ง จึงลงจากที่จงกรม หมายใจจะหยุดนอนพักผ่อนในวิหารสักครู่ก่อน แต่พอเอนกายลงนอน ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้าทั้งสองยังไม่พ้นจากพื้น ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้นถึงเวลาประชุมทำสังคายนา พระมหาเถระรูปอื่น ๆ ก็พากันไปยังธรรมสภา ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหากันอย่างพร้อมเพรียง และต่างรูปต่างก็นั่งอยู่ ณอาสนะแห่งตน ๆ แต่อาสนะของท่านพระอานนท์ยังว่างอยู่ เพราะท่านพระอานนท์คิดใคร่จะประกาศให้พระมหาเถระทั้งหลายได้ทราบว่า ท่านได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว จึงไม่ได้ไปพร้อมกับพระเถระอื่น ๆ เมื่อกำหนดกาลเวลาพอเหมาะแล้ว ท่านจึงแทรกดินลงไป และผุดขึ้น ณ อาสนะแห่งตน แต่บางท่านกล่าวว่า ท่านเหาะไปทางอากาศตกลงบนอาสนะของท่าน

[แก้] พระอานนท์ผู้อ่อนน้อมถ่อมตน
ก่อนการสังคายนาพระธรรมวินัยจะเริ่ม พระมหากัสสปเถระตั้งตั้งปัญหาหลายประการ แก่พระอานนท์ อาทิ การใช้เท้าหนีบผ้าของพระศาสดาในขณะปะหรือชุนผ้า การไม่อาราธนาให้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์อยู่ แม้จะได้ทรงแสดงนิมิตโอภาสหลายครั้ง ก่อนที่พระองค์จะปลงสังขาร การเป็นผู้ขวนขวายให้สตรีเข้ามาบวชในพุทธศาสนา การไม่กราบทูลถามเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสให้สงฆ์ถอนได้ว่าคือสิกขาบทอะไรบ้าง และการจัดสตรีให้เข้าไปถวายบังคมพระพุทธสรีระก่อนบุรุษภายหลังปรินิพพาน ทำให้น้ำตาของสตรีเหล่านั้นเปื้อนพระพุทธสรีระ ถึงแม้พระอานนท์เถระจะอ้างเหตุผลมากล่าวแก่ที่ประชุมสงฆ์ แต่เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นว่าเป็นอาบัติ ท่านก็แสดงอาบัติต่อสงฆ์ หรือแสดงการยอมรับผิด
การแสดงอาบัติของพระอานนท์นั้นเป็นกุศโลบายของพระมหากัสสปเถระที่ต้องการจะวาง ระเบียบวิธีการปกครองคณะสงฆ์ให้ที่ประชุมเห็นว่า อำนาจของสงฆ์นั้นยิ่งใหญ่เพียงใด คำพิพากษาวินิจฉัยของสงฆ์ถือเป็นคำเด็ดขาด แม้จะเห็นว่าตนไม่ผิด แต่เมื่อสงฆ์เห็นว่าผิด ผู้นั้นก็ต้องยอม เป็นตัวอย่างที่ภิกษุสงฆ์รุ่นหลังจะได้ยอมทำตาม
นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมเกียรติคุณของพระอานนท์เถระ ให้เป็นตัวอย่างของผู้ว่าง่าย เคารพยำเกรงผู้ใหญ่ เป็นปฏิปทาที่ใครๆ พากันอ้างถึงด้วยความนิยมชมชอบในการต่อมา

[แก้] พระอานนท์ปรินิพพาน
ภายหลังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระอานนท์ได้เที่ยวจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์แทนองค์พระศาสดา จนชนมายุของท่านล่วงเข้า 120 ปี ท่านจึงได้พิจารณาอายุสังขารของท่านพบว่า อายุสังขารของท่านนั้นยังอีก 7 วันก็จะสูญสิ้นเข้าสู่พระนิพพาน ท่านจึงพิจารณาว่าท่านจะเข้านิพพาน ณ ที่ใด ก็เห็นว่าท่านจะเข้านิพพานที่ปลายแม่น้ำโรหิณี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองโกลิยะ ซึ่งมีพระประยูรญาติอยู่ทั้ง 2 ฝ่าย จากนั้นท่านจึงได้ลาภิกษุสงฆ์ และชนทั้งหลาย จนครบ 7 วันแล้ว ท่านจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์นานาประการ แล้วตั้งจิตอธิษฐานให้กายของท่านแตกออกเป็น 2 ภาค ภาคหนึ่งให้ตกที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ อีกภาคหนึ่งตกที่โกลิย แล้วท่านได้เจริญเตโชกสิณ ทำให้เปลวเพลิงบังเกิดในร่างกาย เผาผลาญมังสะและโลหิตให้สูญสิ้น ยังเหลือแต่พระอัฐิธาตุสีขาวดังสีเงิน พระอัฐิธาตุที่เหลือจึงแตกออกป็น 2 ภาค ด้วยกำลังอธิษฐานของท่าน บรรดาพระประยูรญาติและชนที่มาชุมนุมกัน ณ ที่นั้นต่างก็รองรับพระธาตุไว้ แล้วสร้างพระเจดีย์บรรจุไว้ทั้ง 2 ฟากของแม่น้ำโรหิณี

[แก้] อ้างอิง

พระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดแคว้นหนึ่งในสมัยพุทธกาล มีเมืองหลวงชื่อ กรุงราชคฤห์ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา ๕๒ ปีพระเจ้าพิมพิสารมีอัครมเหสีพระนามว่า เวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธดาของพระเจ้ามหาโกศล แห่งแคว้นโกศล มีพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ ๑ พระองค์ มีนามว่า อชาตศัตรูพระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ต้น กล่าวกันว่าพระองค์เป็นพระสหายกับพระพุทธเจ้าสมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสารความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระพุทธเจ้าเพื่อความสะดวกในการกำหนด อาจแบ่งระยะของความสัมพันธ์ออกเป็น ๒ ตอน คือ ๑.ความสัมพันธ์ก่อนกาลตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งแรกในสมัยที่พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ แคว้นมคธ ในสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมหาอุปราชยังมิได้ราชาภิเษก พระองค์ทรงพอพระทัยในบุคคลิกลักษณะของพระมหาบุรุษมาก จึงทูลเชิญให้ครองราชสมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและตรัสบอกถึงความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระเจ้าพิมพิสารทรงแสดงความยินดีด้วย และทูลขอต่อพระมหาบุรุษว่า เมื่อได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมาโปรดพระองค์ด้วย๒.ความสัมพันธ์หลังกาลตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสร้างวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาและกรุงราชคฤห์เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก กล่าวคือ เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว ทรงเริ่มประกาศพระศาสนาและได้สาวกมากพอสมควรแล้ว พระองค์ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยเหล่าสาวก เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวการเสด็จมาของพระพุทะเจ้า จึงพร้อมด้วยข้าราชการและประชาชนเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งข้าราชการและประชาชนจำนวนมากได้บรรลุโสดาปัตติผล ประกาศพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ดังนั้นวัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนานอกจากนี้ พระเจ้าพิมพิสารยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยประการต่างๆ เป็นอันมาก เช่น ได้พระราชทานหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชสำนักให้เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ เป็นต้นพระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสผู้หลงผิดพระองค์หนึ่งคือ พระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ และเป็นรัชทายาท ก่อนประสูติ ขณะทรงพระครรภ์ นางเวเทหิทรงมีอาการแพ้พระครรภ์ทรงพระกระหายอยกาเสวยพระโลหิตจากพระพาหาข้างขวาของพระสวามี พระเจ้าพิมพิสารจึงกรีดเอาพระโลหิตของพระองค์ให้พระนางเวเทหิทรงเสวย โหราจารย์ได้ทำนายว่า พระโอรสของพระองค์จะปิตุฆาต คือ ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าพิมพิสารทรงรักใคร่พระราชโอรสมาก แม้จะได้ทรงสดับคำทำนายที่ร้ายแรงเช่นนั้น และแม้พระนางเวเทหิจะได้ทรงพยายามทำลายพระครรภ์เพื่อป้องกันภัยแก่พระองค์ แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ ก็ทรงห้ามเสียและโปรดให้ดูแลรักษาพระครรภ์เป็นอย่างดี เมื่อ พระราชโอรสประสูติแล้ว ได้ทรงขนานพระนามว่า อชตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) เมื่ออชาตศัตรูเจริญวัยขึ้น ได้เลื่อมใสในพระเทวทัตจึงถูกพระเทวทัตชักชวนให้ทำปิตุฆาต โดยพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระบัญชาให้ขังพระราชบิดาของพระองค์ ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าพบนอกจากพระนางเวเทหิ และต่อมาก็ทรงห้ามเข้าพบเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อปิดกั้นหนทางมิให้พระนางเวเทหิมีโอกาสซุกซ่อนอาหารเข้าไปถวายพระสวามี และจะได้เร่งให้พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตไปตามแผนการ แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นอริยบุคคล สามารถเสวยสุขมีความอิ่มพระทัยได้ด้วยการเสด็จจงกรม จึงทรงพระชนม์อยู่ต่อไปได้อีก ในขั้นสุดท้ายพระเจ้าอชาตศัตรูจึงให้กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสารเสียทั้งสองข้าง เพื่อไม่ให้เสด็จจงกรมได้อีกต่อไป เป็นเหตุให้พระองค์สวรรคตในขณะเดียวกับที่พระเจ้าพิมพิสารสวรรคตนั่นเอง พระโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ประสูติ พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีความรักใคร่เสน่หาในพระโอรสมาก จึงทรงสำนึกขึ้นได้ว่าพระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงรักใคร่พระองค์เช่นนั้นเหมือนกัน ครั้นสำนึกได้ก็ตรัสรับสั่งให้ปล่อยพระราชบิดา แต่ปรากฏว่าพระราชบิดาได้สวรรคตเสียก่อนแล้ว ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูเสียพระทัยเป็นอันมาก และได้จัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระราชบิดาอย่างสมพระเกียรติ

นางขุชชุตตรา

นางขุชชุตตรา เป็นหญิงรับใช้ในพระนางสามาวดี พระมเหสีพระเจ้าอุเทน เจ้าเมืองโกสัมพี เดิมนางมีชื่อว่า อุตตราแต่เพราะนางเป็นหญิงพิการ มีร่างกายค่อม ดังนั้นประชาชนจึงเรียกนางว่า ขุชชุตตรา แปลว่า หญิงค่อม ในสมัยนั้นเมืองโกสัมพีมีเศรษฐีอยู่ 3 ท่านซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกันในทางการค้าขาย โฆสกเศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี และปวารเศรษฐี ทั้ง 3 ท่านได้ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เพื่อทำการค้า ครั้งหนึ่งไปทำการค้าที่เมืองสาวัตถีและได้เข้าเฝ้าพระศาสดาที่พระวิหารเชตวัน ฟังธรรมจากพระองค์แล้วได้บรรลุโสดาบัน เศรษฐีทั้ง 3 ท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง เมื่อกลับเมืองโกสัมพีแล้วก็สร้างวิหาร 3 หลังคือ โฆสกเศรษฐีให้สร้างโฆสิตาราม กุกกุฏเศรษฐีให้สร้างกุกกุฏาราม และปวารเศรษฐีให้สร้างปาวาริการาม เมื่องสร้างเสร็จแล้วจึงส่งสาสน์ไปทูลพระศาสดาเสด็จมาเมืองโกสัมพีเพื่อทำการถวายวิหาร เมื่อพระศาสดาเสด็จมาถึง ได้มีชาวเมืองกลุ่มหนึ่งตะโกนด่าพระองค์ด้วยคำด่า 10 อย่าง ได้แก่ เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นบ้า เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นวัว เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์เดรัจฉาน สุคติของเจ้าไม่มีหรืออย่าหวังว่าจะได้ขึ้นสวรรค์ เจ้าหวังได้แต่ทุคติอย่างเดียวหรือหวังได้แต่การตกนรกเท่านั้น แต่สาเหตุที่ชาวเมืองกลุ่มนั้นมาด่าเพราะได้รับค่าจ้างจากนางมาคันทิยา ซึ่งเป็นมเหสีอีกองค์หนึ่งของพระเจ้า อุเทน เพราะพระนางผูกใจอาฆาตพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงปฏิเสธนางคราวที่บิดายกให้ โดยหวังเพื่อแก้แค้นแต่พระองค์ก็ทรงอดทนต่อคำเหล่านั้น จนในที่สุดชาวเมืองที่ด่าก็หยุดและกลับมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ส่วนเศรษฐีทั้ง 3 ท่านเมื่อทราบว่าพระศาสดาเสร็จมาถึงก็ทูลให้เสด็จเข้าไปด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่และถวายทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน ครั้งนั้นเหล่าเศรษฐีได้ดำริว่าธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติมาเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกทั้งปวง เราจักให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่นบ้าง เศรษฐีทั้ง 3 ท่านนั้นมีนายช่างดอกไม้คนหนึ่งคอยจัดดอกไม้รับใช้ ชื่อสุมนะ เขาต้องการจะถวายภัตตาหารแด่พระศาสดาบ้าง จึงขอกับเศรษฐีเพื่อจะถวายภัตตาหารแด่พระศาสดา เมื่อเศรษฐีทั้ง 3 อนุญาตแล้วเขาจึงจัดแจงเครื่องสักการะ โดยปกติ พระเจ้าอุเทนจะพระราชทานเงิน 8 กหาปณะให้พระนางสามาวดีเพื่อจัดดอกไม้ทุกวัน เช้าวันนั้นนางขุชชุตตรา ทาสี (คนรับใช้) ของพระนางสามาวดีได้ไปซื้อดอกไม้ที่ร้านของนายสุมนะตามปกติ นายสุมนะกล่าวกับนางว่า วันนี้เรายุ่งเหลือเกิน เพราะนิมนต์พระศาสดาเพื่อจะถวายภัตตาหาร เธออยู่ช่วยเลี้ยงพระและฟังธรรมก่อน แล้วจึงรับดอกไม้ไปได้ไหม นางรับคำว่าได้ นางขุชชุตตราช่วยนายสมุนะถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว พระศาสดาแสดงพระธรรมเทศนาเป็นเครื่องอนุโมทนา นางขุชชุตตราฟังธรรมกถาจากพระศาสดา น้อมใจไปในธรรม ฟังธรรมกถาจากพระศาสดาจบ นางจึงได้บรรลุโสดาบัน ในวันก่อนๆ นางขุชชุตตรารับเงินจากพระนางสามาวดีมาซื้อดอกไม้ 8 กหาปณะ แต่ซื้อเพียง 4 กหาปณะ ส่วนอีก 4 กหาปณะนางเก็บเอาไว้ ทำเช่นนี้ตลอดมา แต่วันนี้นางไม่มีจิตคิดอยากได้ทรัพย์ของคนอื่น เพราะเป็นอริยบุคคล เห็นสัจธรรมแล้ว จึงซื้อดอกไม้ทั้ง 8 กหาปณะ ทำให้ได้ดอกไม้เต็มกระเช้าและนำดอกไม้นั้นไปให้พระนางสามาวดี เมื่อพระนางสามาวดีเห็นดอกไม้มากกว่าทุกวันจึงตรัสถามนางว่า แม่อุตตราวันก่อนๆ เจ้านำดอกไม้มาไม่มากเลยแต่วันนี้ทำไมดอกไม้มากกว่าเดิม พระราชาเพิ่มค่าดอกไม้เป็นสองเท่าหรือ นางจึงบอกเรื่องทั้งหมดที่นางประพฤติในวันก่อนๆ และทูลต่อไปว่าวันนี้หม่อมฉันฟังธรรมกถาของพระศาสดากระทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมแล้วเห็นสัจธรรม เพราะเหตุนี้หม่อมฉัน จึงไม่หลอกลวงท่าน พระนางสามาวดีได้ฟังดังนั้น พระนางก็ไม่โกรธหรือลงโทษนาง แต่กลับบอกว่าเจ้า จงทำให้เราและบริวารอีก 500 คน กระทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมด้วยเถิด นางจึงบอกว่า ถ้าอย่างนั้นหม่อมฉันจักแสดงธรรมแก่พวกท่าน ตามทำนองที่พระศาสดาตรัสแก่หม่อมฉัน แต่ว่าพวกท่านจงให้หม่อมฉันชำระร่างกายให้สะอาด จงจัดอาสนะสูงแก่หม่อมฉัน ส่วนพวกท่านจงนั่งบนอาสนะต่ำ พระนางสามาวดีและบริวารได้กระทำตามนั้น นางขุชชุตตราได้แสดงธรรมแก่พระนางสามาวดีและบริวาร เมื่อจบธรรมเทศนา สตรีเหล่าเหล่านั้นให้นางขุชชุตตราเลิกทำหน้าที่รับใช้ ตั้งอยู่ในฐานะอาจารย์กล่าวว่า ท่านไปฟังธรรมกถาจากพระศาสดาแล้วนำมาบอกแก่พวกเรา นางขุชชุตตราได้กระทำอย่างนั้นตลอดมา จนเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎก การที่นางขุชชุตตราต้องเป็นทาสี ทำการรับใช้คนอื่นนั้น เป็นผลกรรมมาจากอดีตชาติได้เคยใช้ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าหยิบของให้ตน และด้วยผลแห่งกรรมนั้น นางจึงเกิดเป็นทาสีคอยรับใช้คนอื่นนานถึง 500 ชาติ การที่นางเป็นหญิงค่อมก็เป็นผลกรรมจากอดีตชาติเช่นกันคือ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ นางอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากรุงพาราณสี แลเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประจำราชสกุลองค์หนึ่งมีร่างกายค่อม จึงทำการเย้ยหยันด้วยความคะนองกายต่อหน้าเหล่าสตรีอยู่ด้วยกัน เที่ยวทำอาการเป็นประหนึ่งว่าเป็นคนค่อมเพราะเหตุนั้น นางจึงเกิดเป็นหญิงค่อม การที่นางเป็นผู้มีสติปัญญานั้นเนื่องจากในอดีตชาติ เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติเช่นกัน นางอยู่ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้ากรุงพาราณสี และพระปัจเจกพุทธเจ้า 8 องค์ เดินอุ้มบาตรที่เต็มไปด้วยข้าวปายาสร้อนๆ จากราชนิเวศน์จึงได้กล่าวขึ้นว่า ท่านเจ้าข้าโปรดหยุดพักก่อนแล้วจึงค่อยไป และได้ปลดทองปลายแขน 8 วงถวายท่านไป ซึ่งผลกรรมนั้น นางจึงเกิดเป็นผู้มีปัญญามาก สำหรับนางขุชชุตตรา พระศาสดาทรงยกย่องว่าเป็นผู้เลิศในการแสดงธรรม (ธรรมกถึก)
คุณสมบัติที่ควรยึดถือเป็นตัวอย่างที่ดี 1.การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน จะเห็นได้จากการที่นางช่วยเหลือนายสุมนะเลี้ยงพระ เพราะถึงแม้นางจะมีธุระในการรับผู้อื่น แต่นางก็ไม่ปฏิเสธเมื่อนายสุมนะขอให้อยู่ช่วย ข้อนี้เป็นคุณลักษณะที่มนุษย์ทุกคนควรมีอยู่ประจำตน และยึดถือปฏิบัติ เพราะการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน จะช่วยให้มีความสามัคคีและสังคมสงบสุข 2.การไม่พูดเท็จ จะเห็นได้จากการที่นางเล่าเรื่องที่นางปฏิบัติมาตั้งแต่ก่อนโดยปิดบังความจริง แสดงถึงความเป็นผู้กล้ายอมรับในความจริงที่ตนได้กระทำลงไป และเพราะที่นางไม่โกหกนี้นางจึงไม่ถูกเจ้านายลงโทษ แต่กลับถูกเจ้านายยกย่องอีก 3.ความเป็นผู้มีปัญญา ข้อนี้แสดงถึงความเป็นผู้ฉลาดในธรรม จะเห็นได้จากที่นางได้สดับธรรมกถาจากพระศาสดาเพียงครั้งเดียวก็บรรลุโสดาบันได้ และยังสามารถแสดงธรรมทำนองเดียวกับที่พระศาสดาแสดงไว้ให้ผู้อื่นฟังได้ดี จนสตรีเหล่านั้นบรรลุโสดาบันเช่นเดียวกัน